สิ่งสำคัญที่ผมต้องทำต่อไปคือการค้นรูปถ่ายหรือรูปภาพของพระองค์ต่างๆ เพื่อเทียบกับภาพรูปปูนปลาสเตอร์ที่ผมได้ถ่ายไว้ และภาพหนึ่ง ก็ทำให้เรื่องราวได้คลี่คลาย
ภาพถ่ายของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรงพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระองค์สิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษา ๖ พรรษา
เพื่อการบรรยายที่ชัดเจนมากขึ้น ผมขออนุญาตใช้ภาพถ่ายเปรียบเทียบดังนี้
และเมื่อเทียบกับรูปปูนปลาสเตอร์ที่ผมถ่ายจากโรงงานแกะสลักหินอ่อน
รูปภาพเปรียบเทียบนี้ ทำให้ผมแน่ใจว่า รูปปูนปลาสเตอร์ของเด็กชายสวมชุดจีน คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
และผมก็ได้คำตอบครบถ้วนเมื่อได้เห็นรูปถ่ายนี้ องค์หญิงในรูปนี้คือ
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน พระราชธิดาองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรราชินีนาถสิ้นพระชนม์ขณะมีพระชันษา ๙ พรรษา
รูปเปรียบเทียบ
สภาพภายในห้องที่ใช้เก็บรูปต้นแบบปูนปลาสเตอร์ต่างๆ วางปะปนกันไว้
แม้ว่าผมจะได้คำตอบแล้วว่าประติมากรรมปูนปลาสเตอร์ ที่อยู่ในโรงงานของคุณนิโคลีมาเป็นร้อยปี คือรูปปั้นของพระองค์ใดในราชวงศ์ไทย แต่ผมก็ปรารถนาที่จะได้รู้ว่ารูปประติมากรรมหินอ่อนของพระองค์ทั้งสอง (ซึ่งน่าจะเป็นรูปเต็มตัว นั่งบนเก้าอี้ไม้ ดังใน
รูปปูนต้นแบบนี้) ยังมีเก็บรักษาไว้อยู่หรือไม่ และถ้ายังมีเก็บรักษาไว้ตั้งอยู่ที่พระราชวังบางปะอินหรือไม่ เพราะเท่าที่ดูจากรูปอนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ ก็เห็นว่าเป็นเพียงแค่พระรูปเหมือนครึ่งตัว (Bust) ไม่ได้เป็นรูปปั้นเต็มตัวเหมือนกับรูปปั้นต้นแบบ ประกอบกับตัวผมเองยังไม่มีโอกาสเข้าไปในระราชวังบางปะอินเลยสักครั้ง จึงไม่แน่ใจว่าพระรูปเหมือนครึ่งตัวนี้ ใช้รูปปูนเดียวกันนี้เป็นต้นแบบเพื่อแกะสลักครึ่งตัวด้วยหรือไม่ และผมคาดว่า น่าจะมีรูปแกะสลักเต็มตัวเหมือนกับรูปปูนต้นแบบอีกหนึ่งชิ้นรูปประติมากรรมปูนปลาสเตอร์ทั้ง ๒ รูปนี้ถือเป็นหลักฐานทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญมาก เปรียบเสมือนเป็นพิมพ์เขียวในการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังสามารถสืบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยได้ด้วยเพราะประติมากรรมหินอ่อนที่ได้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล
ที่ ๕ ที่ประเทศอิตาลี ล้วนเป็นผลของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอิตาลี ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสเด็จฯประพาสยุโรปหลายครั้งที่ประวัติศาสตร์ศิลปะไทยกล่าวถึง งานศิลปะอันงดงามซึ่งจัดสร้างขึ้นด้วยหินอ่อน ของเมืองคาร์ราร่า (Carrara) ประเทศอิตาลีแต่มิได้ระบุไว้ว่าจัดสร้างจริงๆเมื่อใด และใครเป็นคนทำ
ตามกรรมวิธีทางการแกะสลักหินอ่อนตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วรูปปั้นหล่อเป็นปูนปลาสเตอร์นี้จะถูกใช้เป็นต้นแบบ เพื่อวัดขนาดในการสลักหินออกทีละชิ้น เพื่อให้ได้ขนาดสัดส่วนตามรูปปูน ดังนั้นก่อนจะมีรูปแกะสลักหินอ่อนนี้ได้ จำเป็นต้องมีรูปปูนต้นแบบก่อนเสมอ ณ ตอนนี้ ผมได้พบรูปปูนต้นแบบที่สำคัญทั้ง ๒ นี้ ผมจึงปรารถนาที่จะให้มีการบันทึกหลักฐานเรื่องรูปปูนต้นแบบนี้ไว้ หากทางหน่วยงานที่ดูแลในส่วนของพระราชวังบางปะอินเห็นสมควรที่จะดำเนินการและต้องการติดต่อกับทางคุณนิโคลี ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยประสานงานให้ตามศักยภาพ